วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หน้าต่างที่ 1 คือหน้าล็อกอิน ในหน้านี้สามารถเลือกดูรายละเอียดของอะไหล่ได้โดยไม่ต้องล็อกอิน Username คือ 0000  และ Password คือ 0000




หน้าต่างที่ 2 คือรายละเอียดต่างๆ ของอะไหล่ที่มีทั้งหมด มีไว้สำหรับลูกค้าที่ต้องการเช็คราคาหรือ เจ้าของอู่ก็สามารถเช็คจำนวนคงเหลือของอะไหล่ต่างๆ ได้ในหน้านี้เช่นกัน







หน้าต่างที่ 3 คือหน้าต่างที่มีไว้สำหรับการเพิ่มข้อมูลของอะไหล่เข้าไปในระบบ โดยหน้าต่างนี้จำเป็นต้องล็อกอินเข้าสู่ระบบก่อน



  
หน้าต่างที่ 4 คือหน้าต่างสำหรับการลบข้อมูลอะไหล่ โดยหน้าต่างนี้จำเป็นต้องล็อกอินเข้าสู่ระบบก่อน
การใช้งานคือคลิกเลือกรายการที่ต้องการลบและกดปุ่มลบระบบจะทำการลบข้อมูลออกจากระบบหรือกรณีหารายการอะไหล่ไม่พบให้พิมพ์ชื่อที่ช่องค้นหาระบบจะแสดงรายการที่ต้องการออกมา


  
หน้าต่างที่ 5 คือหน้าต่างสำหรับแก้ไขข้อมูลจำนวนและราคาของอะไหล่ที่มีอยู่ในระบบ  การใช้งานคือคลิกเลือกรายการที่ต้องการแก้ไขและทำการแก้ไขข้อมูลที่ต้องการจากนั้นให้กดที่ปุ่มบันทึกระบบจะทำกาบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบหรือกรณีหารายการอะไหล่ไม่พบให้พิมพ์ชื่อที่ช่องค้นหา ระบบจะแสดงรายการที่ต้องการออกมา โดยหน้าต่างนี้จำเป็นต้องล็อกอินเข้าสู่ระบบก่อน
   


      
หน้าต่างที่ 6 คือหน้าต่างสำหรับคิดเงินค่าบริการและจะอัพเดทฐานข้อมูลของอะไหล่โดยอัตโนมัติ  การใช้งานคือเลือกรายการอะไหล่ที่ได้นำไปใช้ ทำการกรอกจำนวนที่นำไปใช้และกรอกค่าบริการถ้ามีการใช้อะไหล่อื่นๆ อีกให้กดปุ่มเพิ่มเติมและเลือกรายการอะไหล่เพิ่มและทำการกรอกข้อมูลให้ครบจากนั้นกดปุ่มคิดเงินระบบจะคำนวณค่าอะไหล่บวกกับค่าบริการและจะแสดงค่าบริการทั้งหมดผ่านหน้าต่างที่ 7



หน้าต่างที่ 7 คือหน้าต่างที่ทำหน้าที่แสดงค่าบริการทั้งหมดที่ลูกค้าต้องจ่าย



วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เอกสารหมายเลข 3
เอกสารการออกแบบโมเดลของระบบ


Context Diagram
1.       เจ้าของอู่
·       จัดเก็บข้อมูลอะไหล่เข้าสู่ระบบ
·       เมื่อนำอะไหล่ไปใช้ต้องทำการเบิกอะไหล่และจัดเก็บข้อมูลเข้าระบบ
·       สามารถเรียกดูรายการอะไหล่ได้
·       สามารถเรียกดูสถานะของอะไหล่ได้
2.       ลูกค้า
·       ทำการกรอกรายชื่ออะไหล่
·       ระบบจะแสดงราคาของอะไหล่




 DFD Level 0


       อธิบายแต่ละโปรเซส
        ·       โปรเซส 1 บันทึกข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ของอะไหล่ โดยเก็บไว้ที่ D1
        ·       โปรเซส 2 บันทึกข้อมูลการเบิกอะไหล่ โดยเก็บไว้ที่ D2
        ·       โปรเซส 3 อัพเดทสถานะของอะไหล่โดยดึงข้อมูลจาก D1 และ D2 โดยเก็บไว้ที่ D3
        ·       โปรเซส 4 เรียกดูข้อมูลอะไหล่อะไหล่โดยดึงข้อมูลจาก D1 และ D3 แล้วแสดงผลให้กับผู้ใช้


Process 1.0 บันทึกข้อมูลอะไหล่



                                   DFD Level 1


         อธิบายแต่ละโปรเซส
         ·       โปรเซส 1.1 รับข้อมูลและแสดงข้อมูลที่จะทำการบันทึกเข้าระบบ
         ·       โปรเซส 1.2 รับข้อมูลที่จะบันทึกแล้วยืนยันการบันทึก
         ·       โปรเซส 1.3 เมื่อได้รับคำสั่งบันทึกก็จะทำการบันทึกข้อมูลโดยเก็บข้อมูลไว้ที่ D1
         ·       โปรเซส 1.4 รับข้อมูลการบันทึกแล้วแสดงรายการอะไหล่ที่ได้ทำการบันทึกเสร็จเรียบร้อย


Process 2.0 การเบิกอะไหล่








 DFD Level 1



        อธิบายแต่ละโปรเซส
        ·       โปรเซส 2.1 แสดงรายการอะไหล่โดยดึงข้อมูลจาก D1
        ·       โปรเซส 2.2 เลือกรายการอะไหล่ที่ต้องการเบิก
        ·       โปรเซส 2.3 ทำการเบิกอะไหล่จากรายการที่เลือก
        ·       โปรเซส 2.4 อัพเดทสถานะปัจจุบันของอะไหล่โดยนำข้อมูลไปเก็บไว้ที่ D3

Process 3.0 อัพเดทสถานะของอะไหล่








                                              DFD Level 1
อธิบายแต่ละโปรเซส
·       โปรเซส 3.1 รับข้อมูลอะไหล่จาก D1
·       โปรเซส 3.2 รับข้อมูลการเบิกอะไหล่จาก D2
·       โปรเซส 3.3 อัพเดทสถานะของอะไหล่โดยโดยใช้ข้อมูลจาก โปรเซส 3.2
·       โปรเซส 4.4 บันทึกข้อมูลสถานะของอะไหล่โดยนำข้อมูลไปเก็บไว้ที่ D3

Process 4.0 เรียกดูข้อมูลอะไหล่









                                              DFD Level 1

อธิบายแต่ละโปรเซส
·       โปรเซส 4.1 รับข้อมูลอะไหล่จาก D1
·       โปรเซส 4.2 รับข้อมูลอะไหล่และข้อมูลสถานะอะไหล่จาก
·       โปรเซส 4.3 เลือกรายการอะไหล่ที่ต้องการดูข้อมูล
·       โปรเซส 4.4 แสดงรายละเอียดของอะไหล่ที่ได้เลือกไว้ให้แก่ผู้ใช้

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

เอกสารหมายเลข 2

   เอกสารรายงานการวิเคราะห์ระบบ

 1.      วิเคราะห์ระบบงานปัจจุบัน
       สถานประกอบการอู่ซ่อมรถมีรายการอะไหล่จำนวนมากยากต่อการเช็คจำนวนของอะไหล่และยากต่อการ
จำราคาของอะไหล่ชิ้นต่าง ๆ
      เราจึงจะพัฒนาโปรแกรมให้เป็นระบบมากขึ้นโดย
         1.1  แสดงรายการสินค้า
1.2  แสดงราคาสินค้า
       1.3  แสดงข้อมูลสินค้า
       1.4  คิดค่าบริการ
 2.    การออกแบบโมเดลในการพัฒนา



จากภาพแสดงถึงความต้องการในการพัฒนาระบบ โดยมีผู้ใช้จำนวน  2 กลุ่ม

    3.  วิเคราะห์ความต้องการเพื่อสรุปข้อกำหนด
1.      ผู้ใช้งานเปิดโปรแกรม
2.      เข้าสู่ระบบ
3.      แสดงเมนูรายการเลือกใช้งาน
-          รายการอะไหล่
-          แก้ไขรายการอะไหล่
-          คิดค่าบริการ
4.      เมนูรายการอะไหล่
-          ชื่ออะไหล่
-          รายละเอียด
-          ราคา
-          จำนวนอะไหล่
5.      เมนูแก้ไขรายการอะไหล่
-          เพิ่มจำนวนอะไหล่
-          เปลี่ยนแปลงราคาอะไหล่
-          อะไหล่เพิ่มเติม
6.      เมนูคิดค่าบริการ
-          ใส่จำนวนอะไหล่ที่ใช้งาน
-          ใส่ค่าบริการ
-          อื่น ๆ

7.      เมนู Exit

       4.  โมเดลแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล



           1.       Data Spare ข้อมูลอะไหล่
 Parts List           รายการอะไหล่
 Price                  ราคา
 Volume             จำนวนอะไหล่
 Category            ประเภทการใช้งาน
             2.       Parts used ข้อมูลการใช้อะไหล่
                      Parts List           รายการอะไหล่
                      Deployed           อะไหล่ที่ถูกนำไปใช้
             3.       Status สถานะของอะไหล่       
                      Parts List           รายการอะไหล่   
                      Data Spare         ข้อมูลอะไหล่
               Parts used           ข้อมูลการใช้อะไหล่



วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ข้อเสนอโครงการ


1.    ชื่อโครงการ โปรแกรมเช็คจำนวนและราคาอะไหล่ในอู่ซ่อมรถระเบียบยนต์

2.       ผู้รับผิดชอบโครงการ  
        2.1  นายกฤษณะ สนอ่อง

3.       หลักการและเหตุผล
เหตุผลที่สร้างโปรแกรมนี้ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาในการเช็คจำนวนอุปกรณ์และอะไหล่เครื่องมือต่างๆ เพื่อสะดวกและง่ายต่อการเช็คจำนวนของอะไหล่ทำให้สามารถรู้ว่าอะไหล่ชิ้นไหนหมดหรือใกล้จะหมดจะได้ทำการจัดหามาเพิ่มเพื่อการทำงานที่ต่อเนื่องจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปหาซื้อเมื่อลูกค้ามาใช้บริการส่งผลให้การบริการรวดเร็วยิ่งขึ้น
ในการจัดทำโปรแกรมเช็คจำนวนและราคาอะไหล่ในอู่ซ่อมรถขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการเช็คจำนวนของอะไหล่

4.       วัตถุประสงค์ 
4.1   เพื่อสร้างโปรแกรมเช็คจำนวนและราคาอะไหล่ในอู่ซ่อมรถ
4.2   เพื่อความสะดวกต่อค้นหาข้อมูลอะไหล่
4.3   เพื่อพัฒนาโปรแกรมให้สามารถใช้งานได้เหมาะสม

5.       เป้าหมาย
        5.1  เพื่อได้โปรแกรมเช็คจำนวนและราคาอะไหล่ในอู่ซ่อมรถ
5.2  ผู้ประกอบการอู่ซ่อมรถได้ประโยชน์จากโปรแกรม
5.3  สามารถนำโปรแกรมนี้ไปพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น

6.       สถานที่ดำเนินการ

26/4  ม.4  ต.ท่าสัก  อ.พิชัย  จ.อุตรดิตถ์   53220

7.       แผนการดำเนินงาน  







8.   
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
เริ่มโครงการ             3 สิงหาคม 2558
สิ้นสุดโครงการ         25 พฤศจิกายน
รวมทั้งหมด              115       วัน

9.       งบประมาณที่ดำเนินการ


 งบประมาณรวมทั้งสิ้น  2,650  บาท





10. การประเมินผลโครงการ
            1)      ประเมินจากมาตรฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์
            2)      ประเมินจากผู้ใช้งาน
11. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการหรือการนำผลที่ได้ไปใช้เมื่อดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว  
         1)      ผู้ใช้งานทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น
            2)      เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอู่ซ่อมรถ
            3)      การทำงานอย่างเป็นระบบ